15 ก.พ. 2558

วิธีคำนวนค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการติดกล้องวงจรปิดด้วยตัวเอง

      มีลูกค้ามากมายหลายท่านปวด หัวกับการคำนวนเรื่องค่าใช้จ่ายในการติดระบบกล้องวงจรปิด เพราะไม่ทราบว่าต้องใช้อุปกรณ์ อะไรบ้าง ไหนจะค่ากล้อง, ค่าเครื่องบันทึก (DVR), ค่าสายสัญญาณภาพ (RG6), ค่าสายไฟเลี้ยงกล้อง, ค่าบริการติดตั้ง, ค่าอุปกรณ์อื่นจิปาถะ....อย่าเพิ่งกังวลไปครับ บทความนี้เราจะมาว่าถึงเรื่องราวเกี่ยวกับอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งหมดที่ต้องใช้ในการติดระบบกล้องวงจรปิด (CCTV) แบบเจาะลึกกันเลยดีกว่า รวมถึงราคาที่ลูกค้าส่วนมาก (เกือบทุกท่าน) กังวลว่าจะแพงไปหรือเปล่า จะเกินงบที่ตั้งไว้หรือไม่ ถ้าพร้อมแล้วเตรียมเครื่องคิดเลขของท่านไว้ได้เลยเราจะเริ่มเรียงจากอุปกรณ์ แรกไปจนถึงค่าบริการกันเลยดีกว่าครับ

DVR
เริ่มต้นจากเครื่อง บันทึกภาพ (DVR) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับบันทึกภาพจากกล้องลงสู่ Harddisk สำหรับเวลาที่ท่านต้องการดูภาพย้อนหลัง และยังเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับส่งข้อมูลภาพสำหรับการดูกล้องผ่าน Internet ด้วยอีกเช่นกัน มีตั้งแต่ 4 Channels (1 Channel รองรับกล้องได้ 1 ตัว), 8 Channels, 16 Channels, 32 Channels แล้วแต่ความต้องการของท่านในการเลือกว่าต้องการใช้กล้องทั้งหมดกี่จุด ต้องการฟังชันเสริมต่างๆ เพิ่มเติมหรือไม่ เช่นต้องการให้ DVR ส่ง Push Video หรือไม่ ต้องการบันทึกแบบคมชัดหรือไม่  ต้องการให้มีฟังชั่นดูย้อนหลังผ่าน Smart Phone ด้วยหรือเปล่า ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ถ้าท่านมีข้อสงสัยแนะนำให้สอบถามตัวแทนจำหน่ายเพื่อให้ได้ข้อมูลมาก ที่สุดถึงตัวเครื่องบันทึกที่ตอบโจทย์การใช้งานของท่านอย่างลงตัวที่สุด ทั้งฟังชั่นต่างๆ และราคาที่เหมาะสมกับงบประมาณของท่าน

Analog Camera 
ต่อมาก็คือ พระเอกของเรา กล้องสำหรับบันทึกภาพนั่นเองครับ มีมากมายหลายชนิด ทั้งแบบกลางวัน (Day), กลางวันและกลางคืน (Day/Night) ความชัดก็มีให้เลือกมากมายเช่นกัน ตั่งแต่ 420, 500, 520, 600, 700 TV Lines ตามลำดับ ต่อมาก็ฟพังชั่น Infrared (IR) มีให้เลือกระยะการเห็นเวลากลางคืนอีกเช่นกัน ตั้งแต่ 10, 15, 20, 25, 30, 40, 50 เมตร (ตามรุ่นของกล้องอีกเช่นกัน) หรือจะเป็นกล้อง IP Camera ที่ให้ความละเอียดของภาพระดับ Full HD 1080p แบบชัดมากๆ ไปเลยก็ได้ครับ แนะนำว่าให้เลือกตามการใช้งานครับ ไม่จำเป็นต้องติดกล้อง 16 ตัวแล้วต้องเป็นกล้องรุ่นเดียวกันทั้งหมด (จะได้ประหยัดงบประมาณครับ) เราจะได้กล้องที่เหมาะและจำเป็นต่อการใช้งานของเรามากที่สุด ที่สำคัญสบายกระเป๋าด้วยครับ


สาย นำสัญญาณกล้องวงจรปิด
สาย นำสัญญาณเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งเลยทีเดียวเพระาทำหน้าที่นำสัญญาณภาพ จากกล้องมายังเครื่องบันทึก มีมากมายหลายคุณภาพและราคา (บางยี่ห้อตกเมตรละ 4-5 บาทเท่านั้นเอง) ถ้าถามว่าแล้วมันต่างกันตรงไหนระหว่างสายแพงกับสายถูก แน่นอนครับหากใช้สายที่มีคุณภาพ จะทำให้ภาพคมชัดและไม่มีสัญญาณรบกวน ตัวนำสัญญาณที่เป็นแกนกลางที่อยู่ด้าน ในสุดที่เป็นทองแดงเคลือบแข็งด้วยน้ำยานั้น ถ้าเป็นสายที่ราคาถูกเขาจะไม่ใช่สายทองแดงแท้เคลือบ หรือถ้ามีก็มีส่วนผสมของทองแดงน้อยมาก (ไม่ถึง 5%)  และเมื่อนำสายสัญญาณที่มีราคาถูกมาติดตั้งในระบบนั้นก็จะมีอายุการใช้งาน สั้น แต่ถ้าเราใช้สายดีมีมาตรฐานก็จะช่วยยืดอายุการใช้งานออกไปได้อีกนานและภาพ ที่ถ่ายทอดออกมาก็จะชัดเจนขึ้นไปด้วยครับ

เมื่อท่าน เลือกสายได้แล้วต่อมาก็คือการคำนวนระยะทางของสายครับ ง่ายๆครับ ให้ท่านวางแผนว่าจะวางเครื่องบันทึก (DVR) ไว้ยังตำแหน่งไหน..ห้องใด..? เสร็จแล้วให้วัดระยะทางจากเครื่องบันทึกไปยังกล้องจุดต่างๆ ที่เราวางแผนไว้ (เวลาวัดให้ท่านวัดตามตำแหน่งที่สายจะติดจริงนะครับเช่นสายเรียบกำแพง ผ่านเสา ผ่านคาน ห้ามวัดจากเครื่องบันทึกไปยังกล้องตรงๆ นะครับจะได้ความยาวของสายที่ผิดครับ) กล้อง 1 ตัว = ความยาวของสาย 1 เส้น ถ้าใช้กล้อง 4 ตัว ก็วัดทั้งหมด 4 เส้น แค่นี้ก็จะได้ระยะสายที่จะใช้ติดตั้งจริงแล้วครับ



สายไฟฟ้า
เป็นสายสำหรับ จ่ายไฟไปเลี้ยงกล้องวงจรปิดของเรานั่นเองครับ หรือสายไฟธรรมดาที่ใช้ตามบ้านเรานั่นเองครับ แต่จะแตกต่างกับสาย RG6 ในเรื่องระยะของการสายนั่นเองครับ กล่าวคือการเดินสายไฟแบบนี้สามารถพ่วงกันได้ทำให้เราประหยัดการใช้จำนวนสาย ได้มากกว่า ยกตัวอย่างเช่นเราใช้สาย RG6 ทั้งหมด 100 เมตรแต่เราอาจจะต้องใช้สาย VFF เพียงแค่ 60 เมตรเท่านั้นเพราะสาย RG6 จำเป็นต้องเดินจากกล้องไปสู่เครื่องบันทึกแยกเส้นต่อเส้น แต่สาย VFF เราสามารถเดินพ่วงสายไฟไปเส้นเดียวแล้วไปแยกตรงกล้องแต่ละตัวได้ ทำให้ประหยัดค่าสายได้มากเลยล่ะครับ ใช้เท่าไรท่านก็สามารถคำนวนได้แล้วละครับว่าต้องใช้สาย VFF เท่าไร

หัว Connector
หัวสำหรับต่อ สายเข้ากับเครื่องบันทึก (DVR) กับกล้องวงจรปิด (Camera CCTV) นับจำนวนได้เลยครับว่าใช้ทั้งหมดกี่สาย (จำนวนกล้อง) ใช้ทั้งหมดเส้นละ 2 ชุด ยกตัวอย่างเช่น ชุดกล้องวงจรปิด 8 ตัว เท่ากับเราต้องใช้หัวทั้งหมด 16 หัวครับ 


Power Supply
กล้องวงจร ปิดแต่ละตัวกินกระแสไฟไม่เท่ากัน (แล้วแต่ยี่ห้อ, รุ่น) โดยส่วนใหญ๋ทั่วไปจะกินไฟ 12V กระแสไฟบ้านเราใช้ถึง 220V จึงทำให้ต้องใช้อุปกรณ์แปลงกระแสไฟ (Adapter) ซึ่งปกติช่างติดตั้งทั่วไปจะใช้ Adapter แบบเสียบทั่วไป (เหมือนที่ชาร์จมือถือนั่นแหละครับ) ส่วนใหญ่ปัญหาที่เกิดขึ้นจากอาการกล้องดับ ไม่มีภาพ กว่า 90% มาจากอุปกรณ์นี้แหละครับ เพราะอะไรหรือครับ เพราะกล้องวงจรปิดเราเปิดตลอด 24 ชั่วโมงไม่มีหยุดพัก ไอ้เจ้าอุปกรณ์ที่ว่านี่ที่ส่วนใหญ่ผลิตจากจีนทั่วไป มันก็เอาไม่อยู่สิครับ เดือนร้อนลูกค้าที่ต้องตามช่างติดตั้งวุ่นวายไปหมด เราจึงแนะนำให้ลูกค้าเลือกใช้ Adapter Switching Powersupply ครับ เรามารู้จักไอ้เจ้าอุปกรณ์นี้กันดีกว่า ว่ามันดีกว่าอย่างไร

ทั่วไปมัน ก็เหมือน Power Supply ในคอมพิวเตอร์นั่นแหละครับ ทำหน้าที่แปลงไฟจากไฟบ้าน 220V เป็นไฟ 12V (ระบบกล้องวงจรปิด) ซึ่งการจ่ายกระแสไฟจะนิ่งและเสถียร์มากกว่าเยอะครับ (อยู่ที่คุณภาพของ Adapter Switching ด้วยนะครับ) มีแอมป์ให้เลือกตามการใช้งานแยกตาม DVR ประมาณนี้ครับ

ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ยัง ไม่ตายตัวนะครับ ขึ้นอยู่กับการกินไฟของกล้องแต่ละยี่ห้อด้วย วิธีการคำนวนก็ไม่ยากครับ ดูจากรายละเอียดในกล้องแต่ละรุ่นว่ากินไฟเท่าไร (แนะนำให้ดูความต้องการไฟตอน IR เปิดครับ) เราใช้กี่ตัวก็คูณเข้าไปตามนั้น ก็จะได้ค่าแอมป์ที่เราต้องการสำหรับเลือกใช้ Adapter Switching ที่เหมาะกับระบบกล้องวงจรปิดของเราแล้วละครับ แนะนำว่าเลือกให้แอมป์เกินไฟสักนิดนึงนะครับห้ามขาดแต่ไม่ใช่เกินเยอะไปนะ ครับ แทนที่จะส่งผลดีอาจจะส่งผลเสียแทนครับ ถ้าไม่แน่ใจแนะนำให้ปรึกษาช่างที่ชำนาญจะดีที่สุดครับ

Hard Disk
อุปกรณ์สำหรับเก็บข้อมูลที่เครื่องบันทึก (DVR) เก็บเข้ามาใน Harddisk ปัจจุบันมี Harddisk สำหรับงานกล้องวงจรปิดโดยเฉพาะเราเรียก ฮาร์ดดิสก์แบบ นี้ว่า SV35 (HDD Seagate) และ WD Purple (HDD Western) แล้วมันต่างกับ Harddisk ที่ใช้ในคอมพิวเตอร์อย่างไร Harddsik SV35 ของ Seagate และ WD Purple ของ Western ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมกล้องวงจรปิดโดยเฉพาะ (Surveillance Hard Drives) กล่าวคือมัน ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งาน 24 ชั่วโมง และงานที่ทำเป็นเขียนถึง 95% และอุณหภูมิในการทำงานจำเป็นต้องทนความร้อนให้สูงกว่า ทำงานเสถียร์กว่า Harddisk แบบธรรมดาสูงมาก มัน จึงเหมาะสำหรับงานกล้องวงจรปิด แต่ด้วยค่าตัวที่ค่อนข้างสูงกว่า Harddisk ธรรมดาพอสมควร (ประมาณพันกว่าบาท) แนะนำเพิ่มอีกนิดใช้แบบดีไปเลยดีกว่าครับ

UPS
อุปกรณ์สำหรับ สำรองไฟและกรองไฟให้กับระบบ CCTV ของเราครับ ป้องกันอาการไฟตก ไฟกระชากสาเหตุหลักที่ทำให้อุปกรณ์ของลูกค้าส่วนมากชำรุดและเสียหายกันเลย ล่ะครับ เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่าระบบไฟฟ้าบ้านเรามันไม่ค่อยนิ่งครับ เวลาฝนตกหนักทีไร ต้องมีอาการไฟตก ไฟดับกันอยู่บ่อยๆ (ใช้สำหรับกรองไฟเท่านั้นนะครับ หากต้องการสำรองไฟต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพราะต้องมีการคำนวน Watt ของอุปกรณ์ทั้งระบบว่าใช้ไฟเท่าไร เสร็จแล้วจึงเลือกเครื่องสำรองไฟให้เหมาะกับอุปกรณ์และเวลาที่ต้องการสำรอง ไฟ ถ้าระบบใหญ่มากๆ บวกกับต้องการสำรองไฟเป็นเวลานานราคาเครื่องสำรองไฟอาจสูงมากเลยครับ)

Wall Rack
อุปกรณ์สำหรับ เก็บเครื่องบันทึก, เครื่องสำรองไฟ, Switching Powersupply และอุปกรณ์อื่นๆ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ทั้งยังซ่อนสายสัญญาณที่ต่อระเกะระกะให้ดูเป็นระเบียบเรียบร้อย ทั้งยังสามารถเปิดด้านหลังสำหรับงานซ่อมบำรุงได้ง่ายอีกด้วย หลังติดตั้งเรียบร้อยทุกอย่างแล้วท่านยังสามารถล็อกตู้เพื่อป้องกันผู้ไม่ เกียวข้องเข้ามายุ่งกับระบบของท่านได้เป็นอย่างดีอีกด้วย มีทั้งแบบแขวนผนัง (Wall Rack) และแบบตั้งพื้น (Close Rack) มีให้เลือกมากมายหลายขนาด แตกต่างกันตามขนาดของระบบ CCTV ที่ต้องการใช้ เป็นอุปกรณ์มาตรฐานการติดตั้งระบบ เหมาะสำหรับใช้กับระบบขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ แนะนำให้ใช้กับทุกระบบครับ 

ค่าบริการติดตั้ง
และที่ขาดไม่ได้และเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดก็คือขั้นตอนการติดตั้งครับ แล้วทำไมถึงสำคัญ? เหมือนท่านเลือกซื้อวัสดุก่อสร้างอย่างดีเกรด A เพื่อ สร้างบ้านสักหลัง แต่ดันเลือกช่างมาทำบ้านที่ไม่ได้เรื่อง, ไม่รับผิดชอบ, ไม่มีความรู้เพียงพอ, ทำงานไม่จบ ทิ้งงาน บ้านก็สร้างไม่เสร็จ หรือเสร็จแล้วหลังคารั่ว เผลอๆ พังครืนลงมาทั้งหลัง กล้องวงจรปิดก็เช่นเดียวกันครับ แนะนำให้ท่านเลือกเจ้าที่ไว้ใจได้ มีความรับผิดชอบ มาทำงานให้ท่าน งานติดตั้งของท่านจะได้เรียบร้อย งานสวย ที่สำคัญต้องไม่ให้งบประมาณบานปลาย

เป็นที่รู้ กันครับว่า "ของด๊ไม่มีถูก ของถูกไม่มีดี" เพราะราคาติดตั้งของแต่ละเจ้าไม่เหมือนกัน แตกต่างกันอย่างไร ให้ท่านลองพิจารณาดูนะครับ โดยทั่วไปราคาติดตั้งต่อ 1 จุดจะอยู่ที่ประมาณ 750-1,500 บาท แล้วแต่ท่านตกลงกับช่างว่า งานติดตั้งต้องการอย่างไร ติดตั้งแบบไหนร้อยท่อหรือไม่ มีการรับประกันไหม งานจบหรือไม่ ได้เงินแล้วทิ้งงานหรือเปล่า ฯลฯ มีค่าใช้จ่ายอื่นๆ แอบแฝงหรือเปล่า เช่นตกลงกันว่าติดตั้ง 4 จุด จุดละ 750 บาท ถึงเวลาหน้างานจริง มีการเก็บค่า Set อุปกรณ์อื่นๆ เพิ่มเติมอีกเป็นพัน แนะนำว่าให้ตกลงกันให้เรียบร้อยก่อนให้ดีนะครับ

Credit:http://www.compluscenter.com/index.php?lite=article&qid=42038715
 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น